วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์

  • คำนามที่เป็นชื่อสิ่งของสำคัญที่ควรยกย่อง มีคำเติมหน้า ได้แก่ พระบรมมหาราช พระบรมมหา พระบรมราช พระบรม พระอัคราช พระอัคร และพระมหา เช่น พระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาชนกพระบรมราชชนนี พระบรมราชวงศ์ พระบรมอัฐิ พระบรมโอรสาธิราช พระอัครชายา พระมหาปราสาท พระมหาเศวตฉัตร เป็นต้น
  • คำนามเป็นชื่อสิ่งสำคัญรองลงมา นำหน้าด้วยคำพระราชเช่น พระราชวังพระราชวงศ์ พระราชทรัพย์ พระราชลัญจกร เป็นต้น
  • คำนามเป็นชื่อของสิ่งสามัญทั่วไปที่ไม่ถือว่าสำคัญส่วนใหญ่เป็นคำ บาลีสันสกฤต เขมร และคำไทยเก่า แต่บางคำก็เป็นคำไทยธรรมดานำหน้าด้วยคำ พระเช่น พระกร พระบาทพระโรค พระฉาย พระแท่น พระเคราะห์ เป็นต้น คำนามใดที่เป็นคำประสม มีคำ พระประกอบอยู่แล้ว ห้ามใช้คำ พระนำหน้าซ้อนอีก เช่น พานพระศรี (พานหมาก) ขันพระสาคร (ขันน้ำ) เป็นต้น
  • คำนามที่เป็นชื่อสิ่งไม่สำคัญและคำนั้นมักเป็นคำไทย นำหน้าด้วยคำว่า ต้นเช่น ม้าต้น ช้างต้น เรือนต้น และนำหน้าด้วย หลวงเช่น ลูกหลวง หลานหลวง รถหลวง เรือหลวง สวนหลวง ส่วน หลวงที่แปลว่าใหญ่ ไม่จัดว่าเป็นราชาศัพท์ เช่นภรรยาหลวง เขาหลวง ทะเลหลวง เป็นต้น นอกจากคำว่า ต้นและ หลวงประกอบท้ายคำแล้ว บางคำยังประกอบคำอื่นๆ อีก เช่น รถพระที่นั่ง เรือพระที่นั่ง รถทรง เรือทรง ม้าทรง ช้างทรง น้ำสรง ห้องสรง ของเสวย โต๊ะเสวย ห้องบรรทม เป็นต้น
ศัพท์สำหรับเจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ คือตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชินีลงไปถึงหม่อมเจ้า
  • ใช้พระราชนำหน้า เช่น พระราชเสาวนีย์ พระราชประวัติ พระราชดำรัlส พระราชกุศล พระราโชวาท พระราโชบาย เป็นต้น
  • ใช้พระนำหน้า เช่น พระเศียร พระองค์ พระหัตถ์ พระทัย พระบาท เว้นแต่หม่อมเจ้าไม่ใช้ พระนำหน้า ใช้ว่า เศียร องค์ หัตถ์ หทัย บาท เป็นต้น
  • คำนามราชาศัพท์สำหรับเจ้านายอยู่ในตัว ไม่ต้องใช้คำนำหน้าหรือคำต่อท้าย เช่น วัง ตำหนัก ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
คำราชาศัพท์ที่ควรทราบ
 คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำนาม

คำสามัญ
คำราชาศัพท์
คำสามัญ
คำราชาศัพท์
หัว(พระมหากษัตริย์)
พระเจ้า
หัว
พระเศียร
ผม(พระมหากษัตริย์)
เส้นพระเจ้า
ผม
พระเกศา,พระเกศ,พระศก
หน้าผาก
พระนลาฎ
คิว
พระขนง,พระภมู
ขนระหว่างคิว
พระอุณาโลม
ดวงตา
พระจักษุ,พระนัยนา,พระเนตร
จมูก
พระนาสา,พระนาสิก
แก้ม
พระปราง
ปาก
พระโอษฐ์
ฟัน
พระทนต์
ลิ้น
พระชิวหา
คาง
พระหนุ
หู
พระกรรณ
คอ
พระศอ
ดวงตา
พระพักตร์
หนวด
พระมัสสุ
บ่า,ไหล่
พระอังสา
ต้นแขน
พระพาหา,พระพาหุ
ปลายแขน
พระกร
มือ
พระหัตถ์
นิ้วมือ
พระองคุลี
เล็บ
พระนขา
ห้อง
พระอุทร
เอว
พระกฤษฎี,บั้นพระเอว
ขา,ตัก
พระเพลา
แข้ง
พระชงฆ์
เท้า
พระบาท
ขน
พระโลมา
ปอด
พระปัปผาสะ
กระดูก
พระอัฐิ

หมวดขัตติยตระกูล

คำสามัญ
คำราชาศัพท์
คำสามัญ
คำราชาศัพท์
ปู่,ตา
พระอัยกา
ย่า,ยาย
พระอัยยิกา,พระอัยกี
ลุง,อา(พี่-น้องชาย ของพ่อ
พระปิตุลา
ป้า,อา(พี่-น้องสาวของ พ่อ)
พระมาตุจฉา
พ่อ
พระชนก,พระบิดา
แม่
พระชนนี,พระมารดา
พี่ชาย
พระเชษฐา,พระเชษฐภาตา
น้องสาว
พระราชธิดา,พระธิดา
หลาน
พระนัดดา
แหลน
พระปนัดดา
ลูกเขย
พระชามาดา
ลูกสะใภ้
พระสุณิสา

หมวดเครื่องใช้
คำสามัญ
คำราชาศัพท์
คำสามัญ
คำราชาศัพท์
คำสามัญ
คำราชาศัพท์
ยา
พระโอสถ
แว่นตา
ฉลองพระเนตร
หวี
พระสาง
กระจก
พระฉาย
น้ำหอม
พระสุคนธ์
หมวก
พระมาลา
ตุ้มหู
พระกุณฑล
แหวน
พระธำมรงค์
ร่ม
พระกลด
ประตู
พระทวาร
หน้าต่าง
พระบัญชร
อาวุธ
พระแสง
ฟูก
พระบรรจถรณ์
เตียงนอน
พระแท่นบรรทม
มุ้ง
พระวิสูตร
ผ้าห่มนอน
ผ้าคลุมบรรทม
ผ้านุ่ง
พระภูษาทรง
ผ้าเช็ดหน้า
ผ้าชับพระพักตร์
น้ำ
พระสุธารส
เหล้า
น้ำจัณฑ์
ของกิน
เครื่อง
ช้อน
พระหัตถ์ ช้อน
ข้าว
พระกระยาเสวย
หมาก
พระศรี



คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำสรรพนาม
 บุรุษที่ 1
สรรพนาม
ผู้พูด
ผู้ฟัง
ข้าพระพุทธเจ้า
บุคคลทั่วไป
พระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูง
เกล้ากระหม่อมฉัน
บุคคลทั่วไป(หญิง)
เจ้านายชั้นรองลงมา
เกล้ากระหม่อม
บุคคลทั่วไป(ชาย)

เกล้ากระผม
บุคคลทั่วไป


 บุรุษที่ 2 
สรรพนาม
ผู้พูด
ผู้ฟัง
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
เจ้านายหรือบุคคลทั่วไป
พระมหากษัตริย์,พระบรมราชินีนาถ
ใต้ฝ่าละอองพระบาท
เจ้านายหรือบุคคลทั่วไป
พระบรมโอรสาธิราช,พระบรมราชกุมารี
ใต้ฝ่าพระบาท
เจ้านายหรือบุคคลทั่วไป
เจ้านายชั้นสูง
ฝ่าพระบาท
เจ้านายที่เสมอกันเหรือผู้น้อย
เจ้านายชั้นหม่อมเจ้าถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ

บุรุษที่ 3
สรรพนาม
ผู้พูด
ใช้กับ
พระองค์
บุคคลทั่วไป
พระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูง
ท่าน
บุคคลทั่วไป
เจ้านาย

คำขานรับ 
คำ
ผุ้ใช้
ใช้กับ
พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม
ชาย
พระมหากษัตริย์
เพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อมหรือเพคะ
หญิง
พะมหากษัตริย์
พระพุทธเจ้าข้าขอรับ,พระพุทธเจ้าข้า
ชาย
เจ้านายชั้นสูง
เพค่ะกระหม่อม
หญิง
เจ้านายชั้นสูง
คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำกริยา
เป็นคำแสดงอาการ แบ่งเป็น 4 ชนิด
  • กริยาที่เป็นราชาศัพท์ในตัวเอง เช่น ตรัส(พูด) เสด็จ(ไป) กริ้ว(โกรธ) ประชวร (ป่วย) ประสูติ(เกิด) ทูล(บอก) เสวย(กิน) ถวาย(ให้) บรรทม(นอน) ประทับ(อยู่) โปรด(รัก,ชอบ) ทรงม้า(ขี่ม้า) ทรงดนตรี(เล่นดนตรี)
  • ใช้ทรงนำหน้ากริยาธรรมดา เช่น ทรงฟัง ทรงยืน ทรงยินดี
  • ห้ามใช้ทรงนำหน้ากริยาที่มีนามราชาศัพท์ เช่น มีพระราชดำริ(ห้ามใช้ทรงมีพระราชดำริ) มีพระบรมราชโองการ (ห้ามใช้ทรงมีพระบรมราชโองการ)
  • ใช้เสด็จนำหน้ากริยาบางคำ เช่นเสด็จกลับ เสด็จขึ้น เสด็จลง
คำกริยาที่ประสมขึ้นใช้เป็นราชาศัพท์ตามลำดับชั้นบุคคล

กริยา
ราชาศัพท์
ชั้นบุคคล
เกิด
พระราชสมภพ
พระมหากษัตริย์,พระบรมราชินี

ประสูติ
เจ้านาย
ตาย
สวรรคต
พระมหากษัตริย์,พระบรมราชินี

ทิวงคต
พระยุพราชหรือเทียบเท่า

สิ้นพระชนม์
พระองค์เจ้าหรือเจ้านายชั้นสู

ถึงชีพิตักษัย,สิ้นชีพิตักษัย
หม่อมเจ้า

ถึงแก่อสัญกรรม
นายกรัฐมนตรี

ถึงแก่อนิจกรรม
รัฐมนตรี

 คำขึ้นต้นและคำลงท้ายในการกราบบังคมทูล กราบทูล และทูลด้วยวาจา 
ฐานันดรของผู้ฟัง
คำขึ้นต้น
คำลงท้าย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
สมเด็จพระบรมราชินี , สมเด็จพระบรมราชชนนี , สมเด็จพระยุพราช , สมเด็จพระสยามบรมราชกุมารี
ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ควรมีควรแล้วแต่จะทรงพิจารณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
สมเด็จเจ้าฟ้า
ขอพระราชทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาท
ควรมีควรแล้วแต่จะทรงพิจารณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
ขอประทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาท
ควรมีควรแล้วแต่จะทรงพิจารณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
กราบทูลฝ่าพระบาท
ควรมีควรแล้วแต่จะโปรด
หม่อมเจ้า
ทูลฝ่าพระบาททรงทราบ
แล้วแต่จะโปรด

 การใช้คำราชาศัพท์ในการเพ็ดทูล
หลักเกณฑ์ในการกราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน
1.ถ้าผู้รับคำกราบบังคมทูลไม่ทรงรู้จัก ควรแนะนำตนเองว่า "ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกหระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ......................ชื่อ.................... ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท" และลงท้ายว่า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
2. ถ้ากราบบังคมทูลธรรมดา เช่น ทรงมีกระแสพระราชดำรัสถามส่าชื่ออะไร ก็กราบบังคมทูลว่า "ข้าพระพุทธเจ้า ชื่อ ...................พระพุทธเจ้าข้า"
3.ถ้าต้องการกราบบังคมทูลถึงความสะดวกสบาย หรือรอดอันตรายให้ใช้คำว่า "เดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม......................"
4.ถ้าจะกราบบังคมทูลถึงสิ่งที่ทำผิดพลาดไม่สมควรทำให้ใช้คำนำ "พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม"
5.ถ้าจะกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาใช้คำว่า "ขอพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม"
6. ถ้าจะกราบบังคมทูลถึงของหยาบมิบังควร ใช้คำว่า "ไม่ควรจะกราบบังคมพระกรุณา"
7.ถ้าจะกราบบังคมทูลเป็นกลางๆ เพื่อให้ทรงเลือก ให้ลงท้ายว่า "ควรมีควร ประการใดสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม"
8. ถ้าจะกราบบังคมทูลถึงความคิดเห็นของตนเองใช้ว่า "เห็นด้วยเกล้าด้วยกระกม่อม"
9.ถ้ากราบบังคมทูลถึงสิ่งที่ที่ทราบใช้ว่า "ทราบเกล้าทราบกระหม่อม"
10. ถ้าจะกราบบังคมทูลถึงการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถวายใช้คำว่า "สนองพระมหากรุณาธิคุณ"
11.ถ้าจะกล่าวขออภัยโทษ ควรกล่าวคำว่า "เดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า" และลงท้ายว่า ด้วยเกล้าด้วยกระกม่อม
12.การกล่าวถึงสิ่งที่ได้รับความอนุเคราะห์ ให้ใช้คำว่า "พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม"
สำหรับเจ้านายตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป
1. ในการกราบบังคมทูล ไม่ต้องใช้คำขึ้นต้นและลงท้าย ถ้าเป็นพระยุพราช , พระราชินีแห่งอดีตรัชกาลและสมเด็จเจ้าฟ้า ควรใช้สรรพนามแทนพระองค์ท่านว่า "ใต้ฝ่าละอองพระบาท" ใช้สรรพนามแทนตนเองว่า "ข้าพระพุทธเจ้า" และใช้คำรับว่า "พระพุทธเจ้าข้า"
2. เจ้านายชั้นรองลงมา ใช้สรรพนามแทนพระองค์ว่า "ใต้ฝ่าพระบาท" ใช้สรรพนามแทนตนเองว่า "เกล้ากระหม่อม" ใช้คำรับว่า "พระเจ้าข้า" เจ้านายชั้นสมเด็จพระยาและพระยาพานทอง ใช้สรรพนามของท่านว่า "ใต้เท้ากรุณา" ใช้สรรพนามของตนว่า "เกล้ากระหม่อม" ฝช้คำรับว่า "ขอรับกระผม"
3. คำที่พระภิกษุใช้เพ็ดทูลต่อพระเจ้าแผ่นดิน แทนคำรับว่า "ถวายพระพร" แทนตนเองว่า "อาตมภาพ" ใช้สรรพนามของพระองค์ว่า "มหาบพิตร"
วิธีใช้คำประกอบหน้าคำราชาศัพท์
1. พระบรมราช ใช้ประกอบหน้าคำเพื่อให้เห็นว่าสำคัญยิ่ง ในกรณีที่ต้องการเชิดชูพระราชอำนาจ
2. พระบรม ใช้ประกอบหน้าคำเพื่อให้เห็นว่าสำคัญยิ่ง ในกรณีที่ต้องการเชิดชูพระราชอิสริยยศ
3. พระราช ใช้ประกอบหน้าคำเพื่อให้เห็นว่าสำคัญรองมาจาก พระบรม เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งเฉพาะขององค์พระเจ้าแผ่นดิน
วิธีใช้คำประกอบหลังคำราชาศัพท์
1.ทรง ใช้ประกอบหลังคำนาม เพื่อเป็นคำนามราชาศัพท์
2. ต้น ใช้ประกอบหลังคำนามสำคัญทั่วไป เพื่อทำให้เป็นคำนามราชาศัพท์ มักใช้กับสิ่งที่โปรดเป็นพิเศษ
3. หลวง ใช้ประกอบหลังคำนามสามัญทั่วไป เพื่อให้เป็นนามราชาศัพท์

4.พระที่นั่ง ใช้ประกอบหลังคำนามสามัญ เพื่อให้เป็นนามราชาศัพท์ มีความหมายว่าเป็นที่ประทับส่วนพระองค์
ตัวอย่างคำราชาศัพท์ในข่าวพระราชสำนัก


แหล่งที่มา   https://blog.eduzones.com/poonpreecha/81332

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น