วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



ความหมายของคำวิเศษณ์
คำวิเศษณ์  หมายถึง คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม  สรรพนาม  คำกริยา  หรือคำวิเศษณ์ เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น  เช่น
-   คนอ้วนกินจุ
 ("อ้วน" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำนาม "คน" "จุ" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยา "กิน")
-   เขาร้องเพลงได้ไพเราะ
 ("ไพเราะ" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยา "ร้องเพลง")
เขาร้องเพลงได้ไพเราะมาก
 ("มาก" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำวิเศษณ์  "ไพเราะ")
ชนิดของคำวิเศษณ์

 คำวิเศษณ์แบ่งออกเป็น  ๑๐  ชนิด ดังนี้
๑.  ลักษณะวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆ เช่น  บอกชนิด  สี  ขนาด  สัณฐาน  กลิ่น  รส บอกความรู้สึก  เช่น  ดี  ชั่ว  ใหญ่  ขาว  ร้อน  เย็น  หอม  หวาน  กลม  แบน เป็นต้น  เช่น
น้ำร้อนอยูในกระติกสีขาว
จานใบใหญ่ราคาแพงกว่าจานใบเล็ก
๒.  กาลวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์บอกเวลา  เช่น  เช้า  สาย  บ่าย  เย็น  อดีต  อนาคต  เป็นต้น เช่น
พรุ่งนี้เป็นวันเกิดของคุณแม่
เขามาโรงเรียนสาย
๓.  สถานวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์บอกสถานที่  เช่น ใกล้ ไกล  บน  ล่าง  เหนือ ใต้  ซ้าย ขวา  เป็นต้น เช่น
บ้านฉันอยู่ไกลตลาด
นกอยู่บนต้นไม้
๔.  ประมาณวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์บอกจำนวน หรือปริมาณ  เช่น  หนึ่ง  สอง  สาม  มาก  น้อย  บ่อย  หลาย บรรดา  ต่าง  บ้าง  เป็นต้น  เช่น
เขามีเงินห้าบาท
เขามาหาฉันบ่อยๆ
๕.  ประติเษธวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความปฏิเสธ  หรือไม่ยอมรับ  เช่น  ไม่  ไม่ใช่  มิ  มิใช่  ไม่ได้ หามิได้  เป็นต้น  เช่น
เขามิได้มาคนเดียว
ของนี้ไม่ใช่ของฉัน ฉันจึงรับไว้ไม่ได้
๖.  ประติชญาวิเศษณ์  คือ  คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ เช่น ครับ ขอรับ ค่ะ เป็นต้น เช่น
  -  คุณครับมีคนมาหาขอรับ
คุณครูขา  สวัสดีค่ะ
๗.  นิยมวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ เช่น นี้ นั่น โน่น ทั้งนี้ ทั้งนั้น  แน่นอน เป็นต้น เช่น
บ้านนั้นไม่มีใคราอยู่
เขาเป็นคนขยันแน่ๆ
๘.  อนิยมวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ เช่น ใด อื่น ไหน อะไร ใคร ฉันใด เป็นต้น เช่น
เธอจะมาเวลาใดก็ได้
คุณจะนั่งเก้าอื้ตัวไหนก็ได้
๙. ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ  คำวิเศษณ์แสดงคำถาม หรือแสดงความสงสัย  เช่น ใด  ไร  ไหน อะไร  สิ่งใด  ทำไม เป็นต้น  เช่น
เสื้อตัวนี้ราคาเท่าไร
เขาจะมาเมื่อไร
๑๐.  ประพันธวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมคำหรือประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน เช่นคำว่า ที่ ซึ่ง  อัน  อย่าง  ที่ว่า  เพื่อว่า  ให้  เป็นต้น  เช่น
เขาทำงานหนักเพื่อว่าเขาจะได้มีเงินมาก
   -  เขาทำความดี อัน หาที่สุดมิได้
หน้าที่ของคำวิเศษณ์  มีดังนี้คือ
๑.  ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น
คนอ้วนกินจุ  ( "อ้วน" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม "คน")
ตำรวจหลายคนจับโจรผู้ร้าย   ("หลาย" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม "ตำรวจ")
๒.  ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม เช่น
เราทั้งหมดช่วยกันทำงานให้เรียบร้อย   ("ทั้งหมด" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม "เรา")
ฉันเองเป็นคนพูด ( "เอง" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม "ฉัน")
๓.  ทำหน้าที่ขยายกริยา  เช่น
เด็กคนนั้นนั่งดูนก  ("ดู"  เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำกริยา "นั่ง")
๔.  ทำหน้าที่เหมือนคำนาม  เช่น
ออกกำลังกายทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง   ("ออกกำลังกาย"  เป็นคำกริยา  ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)
เด็กชอบเดินเร็วๆ   ("เดิน"  เป็นคำกริยา  ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค)
๕. ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดง  เช่น
เธอสูงกว่าคนอื่น
ขนมนี้อร่อยดี



ความหมายของคำบุพบท
 คำบุพบท  หมายถึง คำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค เพื่อให้ทราบว่าคำหรือกลุ่มคำที่ตามหลังคำบุพบทนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มคำข้างหน้าในประโยคในลักษณะใด เช่น  กับ  แก่  แต่  ต่อ  ด้วย  โดย  ตาม  ข้าง  ถึง  จาก  ใน  บน  ใต้  สิ้น สำหรับ  นอก  เพื่อ  ของ  เกือบ  ตั้งแต่ แห่ง  ที่  เป็นต้น เช่น
 -เขามาแต่เช้า
 -บ้านของคุณน่าอยู่จริง
- คุณครูให้รางวัลแก่ฉัน
- เขาให้รางวัลเฉพาะคนที่สอบได้ที่หนึ่ง
-ชนิดของคำของคำบุพบท
คำบุพบทแบ่งออกเป็น  ๒  ชนิด
๑. คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ  คือ  ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม  คำสรรพนามกับคำนาม  คำนามกับคำกริยา  คำสรรพนามกับคำสรรพนาม  คำสรรพนามกับคำกริยา คำกริยากับคำนาม  คำกริยากับคำสรรพนาม  คำกริยากับคำกริยา เพื่อบอกสถานการให้ชัดเจน  เช่น
๑.๑ บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของ  เช่น
พ่อซื้อสวนของนายทองคำ   (นามกับนาม)
๑.๒ บอกความเกี่ยวข้อง  เช่น
เขาเห็นแก่กิน (กริยากับกริยา)
๑.๓ บอกการให้และบอกความประสงค์  เช่น
  -  คุณครูให้รางวัลแก่ฉัน (นามกับสรรพนาม)
 ๑.๔  บอกเวลา เช่น
เขามาตั้งแต่เช้า (กริยากับนาม)
 ๑.๕  บอกสถานที่ เช่น
  -  เขามาจากต่างจังหวัด  (กริยากับนาม)
 ๑.๖  บอกความเปรียบเทียบ เช่น
    -  พี่หนักกว่าฉัน   (กริยากับสรรพนาม)๒. คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่น  ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย  มักใช้ในคำประพันธ์  เช่นคำว่า  ดูก่อน  ข้าแต่  ดูกร คำเหล่านี้ใช้นำหน้าคำสรรพนามหรือคำนาม  เช่น
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย
ข้าแต่ท่านทั้งหลายโปรดฟังข้าพเจ้า
หน้าที่ของคำบุพบท  มีดังนี้คือ
๑.  ทำหน้าที่นำหน้านาม เช่น
หนังสือของพ่อหาย                               
-  เขาไปกับเพื่อน
๒.  ทำหน้าที่นำหน้าสรรพนาม เช่น
ปากกาของฉันอยู่ที่เขา                        
 -  ฉันชอบอยู่ใกล้เธอ
๓.  ทำหน้าที่นำหน้ากริยา เช่น
เขากินเพื่ออยู่                                    
 -  เขาทำงานกระทั่งตาย
๔.  ทำหน้าที่นำหน้าประโยค เช่น
เขามาตั้งแต่ฉันตื่นนอน                     
-  เขาพูดเสียงดังกับคนไข้
๕.  ทำหน้าที่นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น
เขาต้องมาหาฉันโดยเร็ว                        

 -  เขาเลวสิ้นดี

แหล่งที่มา  http://xn--22ceik4cvaj1fxe6bq2rle.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น