คำไทยแบ่งออกเป็น
7 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกันออกไป การเรียนรู้เรื่องลักษณะของคำเพื่อสร้างเป็นกลุ่มคำและประโยคเป็นเรื่องสำคัญ
และจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนและการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน
คำแต่ละคำมีความหมาย
ความหมายของคำจะปรากฏชัดเมื่ออยู่ในประโยค
การสังเกตตำแหน่งและหน้าของคำในประโยคจะช่วยให้เราทราบชนิดของคำรวมทั้งความหมายด้วย
ดังนั้นการศึกษาให้เข้าใจหน้าที่และชนิดของคำในประโยคจึงมีความสำคัญมากเพราะจะช่วยให้เราสามารถใช้คำได้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ
ในการใช้ภาษาจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทราบว่าคำไนมีที่ใช้อย่างไร
เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร นักไวยากรณ์ได้สังเกตความหมายและหน้าที่ของคำในประโยค แล้วจึงแบ่งคำในภาษาไทยออกเป็นชนิดได้ 7 ชนิด
คือ
1. คำนาม
2. คำสรรพนาม
3. คำกริยา
4. คำวิเศษณ์
5. คำบุรพบท
6. คำสันธาน
7. คำอุทาน
ความหมายของคำนาม
คำนามหมายถึง
คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์
พืช สิ่งของ สถานที่
สภาพ อาการ ลักษณะ
ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิต
หรือสิ่งไม่มีชีวิต
ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม เช่นคำว่า
คน ปลา ตะกร้า
ไก่ ประเทศไทย จังหวัดพิจิตร
การออกกำลังกาย การศึกษา ความดี
ความงาม กอไผ่ กรรมกร
ฝูง ตัว เป็นต้น
ชนิดของคำนาม
คำนามแบ่งออกเป็น ๕
ชนิด ดังนี้
๑. สามานยนาม หรือเรียกว่า คำนามทั่วไป
คือ คำนามที่เป็นชื่อทั่วๆ ไป เป็นคำเรียกสิ่งต่างๆ
โดยทั่วไปไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ปลา
ผีเสื้อ คน สุนัข
วัด ต้นไม้ บ้าน
หนังสือ ปากกา เป็นต้น
๒.
วิสามานยนาม หรือเรียกว่า คำนามเฉพาะ
คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉาะของคน
สัตว์ หรือสถานที่ เป็นคำเรียนเจาะจงลงไปว่า
เป็นใครหรือเป็นอะไร เช่น พระพุทธชินราช
เด็กชายวิทวัส จังหวัดพิจิตร
วัดท่าหลวง ส้มโอท่าข่อย พระอภัยมณี
วันจันทร์ เดือนมกราคม เป็นต้น
๓.
สมุหนาม คือ
คำนามที่ทำหน้าที่แสดงหมวดหมู่ของคำนามทั่วไป
และคำนามเฉพาะ เช่น ฝูงผึ้ง กอไผ่
คณะนักทัศนาจร บริษัท พวกกรรมกร
เป็นต้น
๔. ลักษณะนาม
คือ
เป็นคำนามที่บอกลักษณะของคำนาม
เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด
ปริมาณ ของคำนามนั้นนั้นให้ชัดเจน เช่น
บ้าน ๑ หลัง
โต๊ะ ๕ ตัว
คำว่า หลัง และ ตัว
เป็นลักษณะนาม
๕.
อาการนาม คือ คำนามที่เป็นชื่อกริยาอาการ เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง
มักมีคำว่า "การ" และ
"ความ" นำหน้า เช่น
การกิน การเดิน การพูด
การอ่าน การเขียน ความรัก ความดี
ความคิด ความฝัน เป็นต้น
หน้าที่ของคำนาม มีดังนี้คือ
๑. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น
-
ประกอบชอบอ่านหนังสือ
- ตำรวจจับผู้ร้าย
๒.
ทำหน้าที่เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ เช่น
- วารีอ่านจดหมาย - พ่อตีสุนัข
๓. ทำหน้าที่ขยายนาม
เพื่อทำให้นามที่ถูกขยายชัดเจนขึ้น เช่น
- สมศรีเป็นข้าราชการครู - นายสมศักดิ์ทนายความฟ้องนายปัญญาพ่อค้า
๔.ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม
เช่น
- ศรรามเป็นทหาร - เขาเป็นตำรวจแต่น้องสาวเป็นพยาบาล
๕.
ใช้ตามหลังคำบุพบทเพื่อทำหน้าที่บอกสถานที่
หรือขยายกริยาให้มีเนื้อความบอกสถานที่ชัดเจนขี้น
เช่น
-
คุณแม่ของเด็กหญิงสายฝนเป็นครู
- นักเรียนไปโรงเรียน
๖.
ใช้บอกเวลาโดยขยายคำกริยาหรือคำนามอื่น เช่น
- คุณพ่อจะไปเชียงใหม่วันเสาร์ -
เขาชอบมาตอนกลางวัน
๗. ใช้เป็นคำเรียกขานได้ เช่น
- น้ำฝน ช่วยหยิบปากกาให้ครูทีซิ -
ตำรวจ ช่วยฉันด้วย
ความหมายของคำสรรพนาม
คำสรรพนาม
หมายถึง
คำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก เช่นคำว่า
ฉัน เรา ดิฉัน
กระผม กู คุณ ท่าน
ใต้เท้า เขา มัน
สิ่งใด ผู้ใด นี่
นั่น อะไร ใคร
บ้าง เป็นต้น
ชนิดของคำสรรพนาม
คำสรรพนามแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด
ดังนี้
๑. บุรษสรรพนาม
คือ คำ สรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด แบ่งเป็นชนิดย่อยได้ 3 ชนิด คือ
๑.๑ สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้แทนตัวผู้พูด เช่น ผม
ฉัน ดิฉัน กระผม
ข้าพเจ้า กู เรา
ข้าพระพุทธเจ้า อาตมา หม่อมฉัน เกล้ากระหม่อม
๑.๒ สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้แทนผู้ฟัง หรือผู้ที่เราพูดด้วย เช่น
คุณ เธอ ใต้เท้า
ท่าน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ฝ่าพระบาท พระคุณเจ้า
๑.๓ สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เขา
มัน ท่าน พระองค์
๒. ประพันธสรรพนาม คือ
คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามและใช้เชื่อมประโยคทำหน้าที่เชื่อมประโยคให้มีความสัมพันธ์กัน
ได้แก่คำว่า ที่ ซึ่ง
อัน ผู้
๓. นิยมสรรพนาม
คือ
สรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจงหรือบอกกำหนดความให้ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจกัน
ได้แก่คำว่า นี่ นั่น
โน่น
๔. อนิยมสรรนาม
คือ สรรพนามใช้แทนนามบอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจงที่แน่นอนลงไป ได้แก่คำว่า
อะไร ใคร ไหน ได
บางครั้งก็เป็นคำซ้ำๆ เช่น ใครๆ
อะไรๆ ไหนๆ
๕. วิภาคสรรพนาม
คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม ซึ่งแสดงให้เห็นว่านามนั้นจำแนกออกเป็นหลายส่วน ได้แก่คำว่า
ต่าง บ้าง กัน เช่น
- นักเรียน"บ้าง"เรียน"บ้าง"เล่น
-
นักเรียน"ต่าง"ก็อ่านหนังสือ
๖. ปฤจฉาสรรพนาม
คือ
สรรพนามที่ใช้แทนนามที่เป็นคำถาม ได้แก่คำว่า อะไร
ใคร ไหน ผู้ใด
สิ่งใด ผู้ใด ฯลฯ
เช่น
- "ใคร" ทำแก้วแตก
-
เขาไปที่ "ไหน"
หน้าที่ของคำสรรพนาม มีดังนี้คีอ
๑. เป็นประธานของประโยค เช่น
- "เขา"ไปโรงเรียน
-
"ใคร"ทำดินสอตกอยู่บนพื้น
๒. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค (ผู้ถูกกระทำ) เช่น
- ครูจะตี"เธอ"ถ้าเธอไม่ทำการบ้าน
-
คุณช่วยเอา"นี่"ไปเก็บได้ไหม
๓.
ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มหรือส่วนสมบูรณ์
เช่น
- กำนันคนใหม่ของตำบลนี้คือ"เขา"นั่นเอง -
เขาเป็น"ใคร"
๔.
ใช้เชื่อมประโยคในประโยคความซ้อน เช่น
- ครูชมเชยนักเรียน"ที่"ขยัน
๕.
ทำหน้าที่ขยายนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค
เพื่อเน้นการแสดงความรู้สึกของผู้
พูด จะวางหลังคำนาม
- ไปเยี่ยมคุณปู่"ท่าน"มา
ความหมายของคำกริยา
คำกริยา หมายถึง
คำแสดงอาการ การกระทำ หรือบอกสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อให้ได้ความ เช่นคำว่า
กิน เดิน นั่ง นอน
เล่น จับ เขียน
อ่าน เป็น คือ
ถูก คล้าย เป็นต้น
ชนิดของคำกริยา
คำกริยาแบ่งเป็น ๕ ชนิด
๑. อกรรมกริยา
คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์ เข้าใจได้
เช่น
- เขา"ยืน"อยู่ - น้อง"นอน"
๒. สกรรมกริยา
คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ
เพราะคำกริยานี้ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง เช่น
- ฉัน "กิน"ข้าว (ข้าวเป็นกรรมที่มารับคำว่ากิน)
- เขา"เห็น"นก (นกเป็นกรรมที่มารับคำว่าเห็น)
๓. วิกตรรถกริยา
คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง
ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความ ต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ คำกริยาพวกนี้คือ เป็น
เหมือน คล้าย เท่า คือ
เช่น
- เขา"เป็น"นักเรียน - เขา"คือ"ครูของฉันเอง
๔. กริยานุเคราะห์ คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาสำคัญในประโยคให้มีความหมายชัดเจนขึ้น ได้แก่คำว่า จง กำลัง
จะ ย่อม คง
ยัง ถูก นะ
เถอะ เทอญ ฯลฯ เช่น
- นายดำ"จะ"ไปโรงเรียน
-
เขา"ถูก"ตี
๕. กริยาสภาวมาลา
คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนามจะเป็นประธาน กรรม
หรือบทขยายของประโยคก็ได้ เช่น
- "นอน"หลับเป็นการพักผ่อนที่ดี
(นอน เป็นคำกริยาที่เป็นประธานของประโยค)
- ฉันชอบไป"เที่ยว"กับเธอ
(เที่ยว เป็นคำกริยาที่เป็นกรรมของประโยค)
หน้าที่ของคำกริยามีดังนี้คือ
๑.
ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค
เช่น
- ขนมวางอยู่บนโต๊ะ
- นักเรียนอ่านหนังสือทุกวัน
๒. ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น
- วันเดินทางของเขาคือวันพรุ่งนี้ ("เดินทาง" เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำนาม "วัน")
๓. ทำหน้าที่ขยายกริยา เช่น
- เด็กคนนั้นนั่งดูนก ("ดู"
เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำกริยา "นั่ง")
๔. ทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น
- ออกกำลังกายทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง ("ออกกำลังกาย" เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)
- เด็กชอบเดินเร็วๆ
("เดิน" เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค)
แหล่งที่อยู่ http://xn--22ceik4cvaj1fxe6bq2rle.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น